ภาพอนาคตคน-ช้าง-ป่า ภาคตะวันออก : บ้านใครบ้านมัน แบริเออร์กั้นคน กันช้าง

ภาพอนาคตคน-ช้าง-ป่า ภาคตะวันออก : บ้านใครบ้านมัน แบริเออร์กั้นคน กันช้าง

รัฐออกแบบ ศึกษา และก่อสร้างโครงสร้างแข็งขนาดใหญ่ด้วยวิทยาการสมัยใหม่ รอบพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ความยาวหลายร้อยกิโลเมตร เพื่อกั้นพื้นที่ของคนและช้างออกจากกัน แก้ปัญหาการเผชิญหน้าและความสูญเสีย โดยสนับสนุนงบประมาณนับพันล้าน เนื่องจากเป็นโครงสร้างที่ยังไม่มีตัวอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในและต่างประเทศ จึงต้องมีการศึกษาถึงผลกระทบอย่างครบถ้วนรอบด้าน ทั้งผลดีและผลเสียที่จะเกิดขึ้นต่อคน ชุมชน สัตว์ป่า และระบบนิเวศ รวมทั้งมาตรการรับมือผลกระทบในอนาคต กระบวนการอนุมัติอนุญาตต้องมีการยินยอมจากหน่วยงานด้านการดูแลป่า ท้องถิ่น ท้องที่ และประชาชนในพื้นที่ มีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน ไม่ทิ้งปัญหาให้ประชาชนในภายหลัง ช้างในป่าต้องได้รับการดูแลในฐานะ "สัตว์ป่าคุ้มครอง" ในกลุ่ม "ใกล้สูญพันธุ์" ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมของโลก สามารถคงรักษาและดำรงเผ่าพันธุ์อยู่ได้ตามธรรมชาติ ขณะที่ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่องการชดเชยเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งคนและช้าง ต้องมีหลักเกณฑ์ การเยียวยาบนฐานความเป็นจริงและเป็นธรรม

Points

Back to group

This content is created by the open source Your Priorities citizen engagement platform designed by the non profit Citizens Foundation

Your Priorities on GitHub

Check out the Citizens Foundation website for more information